วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สัตวรักษ์ราชบุรี

ประวัติและความเป็นมา
                สาขาวิชาสัตวรักษ์เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2536 ที่กรมอาชีวศึกษา วิทยาลัยเกษตรกรรมราชบุรีเป็นแห่งแรกของกรมอาชีวศึกษาในการจัดการเรียนรู้ทางสาขาวิชาชีพนี้  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความรู้  ทักษะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านเทคนิคการพยาบาลสัตว์เบื้องต้น  ผสมผสานกับเทคนิคด้านการจัดการเลี้ยงดูปศุสัตว์  ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ( ปวส.) สามารถนำไปประกอบอาชีพในกลุ่มงาน       ( cluster ) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปศุสัตว์และสัตว์เลี้ยงได้หลายรูปแบบ
วิชาแกนที่เกี่ยวข้อง
*   วิชาอายุรศาสตร์เบื้องต้น
*   วิชาผสมเทียม
*   วิชาปาราสิตวิทยา
*   วิชาการผลิตสุกร
*   วิชาการผลิตโคนม-โคเนื้อ
*   วิชาศัลยศาสตร์เบื้องต้น
*   วิชาโภชนศาสตร์สัตว์
*   วิชาเนื้อและการตรวจเนื้อ
*   วิชาคลินิก
*   วิชาเวชภัณฑ์พื้นฐานในงานฟาร์มปศุสัตว์


แนวทางการศึกษาต่อเนื่อง
*   สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
*   มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร (ลาดกระบัง)
*   มหาวิทยาลัยแม่โจ้
*   มหาวิทยาลัยราชภัฏ
*   มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
*   สถาบันการอาชีวศึกษา
แนวทางอาชีพของสาขาสัตวรักษ์
* เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสุขภาพในงานฟาร์มปศุสัตว์( สัตว์ปีก  สุกร  โคนม และโคเนื้อ )
* พนักงานของรัฐฝ่ายส่งเสริมสุขภาพสัตว์/ฝ่ายผสมเทียม  (กรมปศุสัตว์)
* ผู้ช่วยนักวิจัย/นักวิจัย
* เจ้าหน้าที่ตรวจเนื้อ
* ผู้แทนอาหาร และเวชภัณฑ์ในปศุสัตว์
* ฝ่ายส่งเสริมการเกษตรของสหกรณ์โคนม
* เจ้าหน้าที่บริการงานแพทย์ โรงพยาบาลสัตว์ใหญ่
* ธุรกิจขายอาหารสัตว์เลี้ยง และตัดแต่งขนสุนัข
* เจ้าหน้าที่บริการงานแพทย์โรงพยาบาลสัตว์เล็ก
* เจ้าของฟาร์มปศุสัตว์
  • สามารถสอบบรรจุเข้ารับราชการกรมปศุสัตว์ได้

สอบถามข้อมูลได้ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี 63  หมู่ 7 ต.เขาชะงุ้ม  อ.โพธาราม จ.ราชบุรี70120
รับสมัคร เดือน มีนาคมของทุกปี โดยรับนักเรียนระดับชั้น ปวช.3และนักเรียนชั้น ม.6
ติดต่อโทร  032-740039  โทรสาร 032 – 740040
E-mail : rbcat.ac.th หรือ vetnurse ratchaburi blogspot.com

วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สัตวรักษ์คืออะไร ใครรู้บ้าง

โครงสร้างหลักสูตร

         ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง             พุทธศักราช 2546 ประเภทวิชาเกษตรกรรม สาขาวิชาสัตวรักษ์ สาขางานสัตวรักษ์ จะต้องศึกษารายวิชาจากหมวดวิชาต่าง ๆ และเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร รวมไม่น้อยกว่า 86 หน่วยกิต
1. หมวดวิชาสามัญ ไม่น้อยกว่า 21 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า 59 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

4. ฝึกงาน (ไม่น้อยกว่า 1 ภาคเรียน)
5. กิจกรรมเสริมหลักสูตร 120 ชั่วโมง

มาตรฐานวิชาชีพ

1.สื่อสารโดยใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน               และเพื่อพัฒนางานอาชีพ
 2. แก้ไขปัญหาและพัฒนางานอาชีพโดยใช้หลักการและกระบวนการ   ทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
3. มีบุคลิกภาพและคุณลักษณะเหมาะสมกับการปฏิบัติงานอาชีพเกษตรกรรม และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
4. เข้าใจหลักการและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มประสิทธิภาพ   และประสิทธิผล ในงานบริการทางด้านสัตวรักษ์
5. เลือก/ใช้/ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อส่งเสริมและพัฒนางานอาชีพเกษตรกรรมทางด้านสัตวรักษ์ โดยคำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. เข้าใจหลักการและกระบวนการบริการทางด้านสัตวรักษ์
7. วางแผน/เตรียมการบริการทางด้านสัตวรักษ์ตามหลักการ                  และกระบวนการ
8.  ดำเนินการ บริหารจัดการ ประเมินผลและแก้ไขปัญหาในงานสัตวรักษ์ตามหลักการและ กระบวนการ
9. เลือก/ใช้/ประยุกต์ใช้ปัจจัยและเทคนิควิธีการจัดการเลี้ยงดู ตรวจสุขภาพ และใช้เวชภัณฑ์พื้นฐานเพื่อส่งเสริมสุขภาพปศุสัตว์ โดยตระหนักถึงความปลอดภัยและผลกระทบต่อสังคมและสภาพแวดล้อม

จุดประสงค์ของสาขา

1. เพื่อให้มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับภาษา สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ มนุษยศาสตร์นำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเองและงานอาชีพ
2. เพื่อให้มีความเข้าใจหลักการและกระบวนการในการปฏิบัติงานสัตวรักษ์ การบริหารจัดการ และ
3. เพื่อให้มีทักษะและประสบการณ์ในงานบริการทางด้านสัตวรักษ์ตามหลักการและกระบวนการ
4. เพื่อให้มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ วางแผน จัดการ ตัดสินใจและแก้ไขปัญหา
5. เพื่อให้มีบุคลิกภาพที่ดี มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัวและสังคม มีส่วนร่วมในการพัฒนา
6. เพื่อให้มีเจตคติและกิจนิสัยที่ดีในการประกอบอาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม ซื่อสัตย์ มีวินัย ความรับผิดชอบ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร  แสวงหาความรู้ ทักษะ ประสบการณ์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมทางด้านสัตวรักษ์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี
การใช้เทคโนโลยีในการพัฒนางานอาชีพเกษตรกรรมทางด้านสัตวรักษ์   ให้เกิดประสิทธิภาพ