วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

ผลการใช้ผงสกัดใบหูกวางละลายน้ำรักษาแผลตอนในสุกร


บทคัดย่อ
                ศึกษาการรักษาแผลตอนในลูกสุกรเพศผู้โดยใช้ผงสกัดใบหูกวางละลายน้ำ  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการหายของแผลตอนในสุกร  วางแผนการทดลองแบบ Paired T – test  โดยใช้สุกรเพศผู้อายุ  5 – 7 วัน น้ำหนักเฉลี่ยของลูกสุกร 750 กรัม  จำนวน 60 ตัว  แบ่งออกเป็น 2 สิ่งทดลอง  หน่วยทดลองละ 30 ตัว  เลือกหน่วยทดลองโดยวิธีการสุ่ม   ให้แต่ละกลุ่มเลือกสิ่งทดลองต่างกันคือ  ทิงเจอร์ไอโอดีน  และผงสกัดใบหูกวางละลายน้ำ  ตอนลูกสุกรเพศผู้แบบ 2 แผลโดยมีความกว้างทั้ง 2 แผล  เท่ากัน  ให้สิ่งทดลองแก่หน่วยทดลองในปริมาณที่เท่ากันคือ 1 มิลลิลิตรต่อตัว  เก็บข้อมูลด้วยการบันทึกการหายของแผลตอนทุกวันจนแผลหายสนิท  จากการศึกษาพบว่า  การใช้ผงสกัดใบหูกวางละลายน้ำ  และทิงเจอร์ไอโอดีนให้ค่าเฉลี่ยของจำนวนวันที่หายของบาดแผลตอนเท่ากับ 5.73 และ 5.81 วัน  ทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบรายคู่พบว่าสิ่งทดลองทั้งสอง  ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ Pมากกว่า0.05 และในการทดลองมีค่าสัมประสิทธิ์ของการกระจาย  ( Coefficient  of  Variation C.V.% ) เฉลี่ยเท่ากับ 2.07%  แสดงให้เห็นว่าการใช้ผงสกัดใบหูกวางละลายน้ำสามารถรักษาแผลตอนในสุกรนั้นสามารถรักษาได้เทียบเท่ากับการใช้ทิงเจอร์ไอโอดีน
                จากการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตผงสกัดใบหูกวางละลายน้ำเปรียบเทียบกับราคาทิงเจอร์ไอโอดีนพบว่าต้นทุนการผลิตของผงสกัดใบหูกวางละลายน้ำมีราคาต่ำกว่าทิงเจอร์ไอโอดีนถึงร้อยละ 50 ( ทิงเจอร์ไอโอดีนราคา 0.15 บาทต่อมิลลิลิตร  ส่วนผงสกัดใบหูกวางละลายน้ำราคา 0.08 บาทต่อมิลลิลิตร ) แสดงให้เห็นว่าการใช้ผงสกัดใบหูกวางละลายน้ำเพื่อรักษาแผลตอนในสุกรสามารถลดต้นทุนเวชภัณฑ์ได้ร้อยละ 50 อีกทั้งการใช้ใบหูกวางในรูปผงสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานกว่าน้ำหมักใบหูกวางที่นำมาใช้รักษาแผลตอนสุกร( กันยา และเพชรไพลิน, 2554 )  ซึ่งใช้เวลาในการหมัก 2 สัปดาห์  และควรรีบใช้ให้หมดไม่เช่นนั้นอาจเสื่อมคุณภาพหรือเน่าเสียได้
                                นายสมรัก  ใจตรง  และนายประทุมทอง  รัตนพันธ์  นักศึกษาสาขาสัตวรักษ์
น.สพ.พิเชษฐ  ประจงทัศน์ /น.สพ.สุวิทย์  จันละคร และ น.ส.ระพีพร  แพงไพรี  อาจารย์ที่ปรึกษา
โครงการ

ผลของการใช้หมากดิบสดเปรียบเทียบกับหมากนวลในการถ่ายพยาธิตัวตืดในไก่พื้นเมือง

บทคัดย่อ
                การศึกษาผลของการใช้หมากดิบสดเปรียบเทียบกับหมากนวลในการถ่ายพยาธิตัวตืดในไก่พื้นเมือง  เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของหมากดิบและหมากนวลในการถ่ายพยาธิตัวตืด  โดยใช้ไก่พื้นเมืองจำนวน 18 ตัวแบ่งเป็น 2 สิ่งทดลอง  สิ่งทดลองละ 3 ซ้ำ  ซ้ำละ 3 ตัว  จากการสุ่มไก่พื้นเมืองทั้งหมด 50 ตัว  จากการทดลองพบว่าอุจจาระของไก่พื้นเมืองที่ได้รับสมุนไพรหมากดิบนั้น  มีปล้องสุกของพยาธิตัวตืด  และตัวโตเต็มวัยปนออกมากับอุจจาระของไก่พื้นเมือง  ส่วนการใช้สมุนไพรหากนวลไม่พบปล้องสุกและตัวโตเต็มวัยของพยาธิตัวตืดปนออกมากับอุจจาระของไก่พื้นเมือง  เมื่อนำไก่พื้นเมืองมาผ่าซากเพื่อตรวจนับพยาธิที่หลงเหลือภายในระบบทางเดินอาหาร  จากการสุ่มไก่พื้นเมืองของแต่ละซ้ำของสิ่งทดลอง  จะพบพยาธิตัวตืด Raillietina  tetragona  มากที่สุด  จากข้อมูลดังกล่าวได้แสดงถึงผลของการใช้หมากดิบที่มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญที่ระดับ t  0.05  จากการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำหลักการ  และวิธีการของการใช้หมากดิบในกานถ่ายพยาธิไก่พื้นเมือง  ไปส่งเสริมให้กับเกษตรกรเพื่อเป็นการลดต้นทุน ซึ่งสอดคล้องกับการทำการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
                                          น.ส.นริศรา  สืบวงศ์  และนายวุฒิพงษ์  รังเรืองฤทธิ์  น.ศ.สาขาวิชาสัตวรักษ์
                นายจรูญ  นาคพันธุ์/น.สพ.สุวิทย์  จันละคร/น.ส.ระพีพร  แพงไพรี อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ

วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555

ผ.อ.อวยชัย  ชัยยุทโธ ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ให้ความสนใจซักถาม นักศึกษาสาขาสัตวรักษ์ที่ทำโครงการหารายได้ระหว่างเรียน  เลี้ยงหมูหลุมของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี

ผลของน้ำหมักใบหูกวางต่อการหายของแผลตอนในลูกสุกร

ชื่อเรื่อง ผลของน้ำหมักใบหูกวางต่อการหายของแผลตอนในลูกสุกร
ผู้วิจัย                    1. น.ส.กันยา ยันยง
                             2. น.ส.เพชรไพลิน สุขเสงี่ยม
อาจารย์ที่ปรึกษา  1. น.สพ.พิเชษฐ ประจงทัศน์
                             2. น.ส.ระพีพร แพงไพรี


ประโยชน์จากผลการศึกษา
1. เพื่อศึกษาผลของน้ำหมักจากใบหูกวางแห้งต่อการหายของแผลสุกรเมื่อเทียบกับการใช้ทิงเจอร์ไอโอดีน
2. เป็นแนวทางการนำสิ่งเหลือใช้จากธรรมชาติมาทำให้เกิดประโยชน์ในทางการเกษตร
3. ส่งเสริมการปศุสัตว์ทางเลือกที่หลีกเหลี่ยงการใช้สารเคมี
                                                                              
                                                     บทคัดย่อ
             การศึกษาผลของนำหมักใบหูกวางต่อการหายของแผลตอนใน  ลูกสุกร  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของใบหูกวางในการรักษาแผล  โดยเปรียบเทียบกับทิงเจอร์ไอโอดีน  แบ่งเป็น 2 สิ่งทดลองๆละ 100 ตัว  รวมจำนวนลูกสุกรเพศผู้ 200 ตัว  วิธีการทดลองโดยฉีดพ่นทิงเจอร์ไอโอดีน (สิ่งทดลองที่ 1 ) และน้ำหมักใบหูกวาง ( สิ่งทดลองที่ 2 ) ตัวละ3มิลลิลิตร 1 ครั้ง หลังการตอน  รอบันทึกผลจำนวนวันการหายของแผล  นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ผลแบบเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยแบบคู่ Paired T-test ( Comparison T-test ) วิเคราะห์การกระจายค่า C.V. สัมประสิทธิ์ความแปรผัน  ผลการศึกษาพบว่าทิงเจอร์ไอโอดีนมีค่าเฉลี่ย 6.6 วัน  ซึ่งหายช้ากว่าน้ำหมักใบหูกวางที่ให้ค่าเฉลี่ย 5.75 วัน  ผลการเปรียบเทียบค่าคู่เลี่ย  พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 19.92 ที่ความเชื่อมั่น 95% และมีค่าสัมประสิทธิ์ความแปรผัน 17.6 แสดงให้เห็นว่าน้ำหมักจากใบหูกวางแห้งสามารถทดแทนการใช้ทิงเจอร์ได้ดี

เปรียบเทียบผลการใช้ตำลึง น้ำจากใบยาสูบ และยาถ่ายพยาธิลีวามิโซลในการถ่ายพยาธิตาไก่พื้นเมือง

                                                                                 บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องการเปรียบเทียบผลการใช้ตำลึง  น้ำจากใบยาสูบ  และยาถ่ายพยาธิลีวามิโซลไฮโดรคลอไรด์  มีวัตถุประสค์เพื่อศึกษาผลของยางตำลึง ยอดตำลึง น้ำจากใบยาสูบ และยาถ่ายพยาธิลีวามิโซลไฮโดรคลอไรด์ ในการถ่ายพยาธิตาไก่พื้นเมือง  และเป็นทางเลือกใหม่ของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมือง  โดยการแบ่งการทดลองเป็น 4 สิ่งทดลองๆละ3ซ้ำ จำนวน 36 ตัว การเตรียมสิ่งทดลองที่ 1 (เถาตำลึง)  สิ่งทดลองที 2 ( ยอดตำลึง )ล้างทำความสะอาด  สิ่งทดลองที่ 3 ( น้ำจากใบยาสูบ ) ยาสูบแช่น้ำนาน 10 นาที  ในอัตราส่วนยาสูบ 20 กรัมต่อน้ำ 150 มิลลิลิตร และสิ่งทดลองที่ 4 ( ยาถ่ายพยาธิลีวามิโซลไฮโดรคลอไรด์ ) ผสมกับน้ำกลั่นในอัตราส่วน 1:1 นำสิ่งทดลองทั้ง 4 มาหยอดตาไก่อย่างละหยด ใช้สำลีพันก้านเขี่ยพยาธิออกจากตาไก่  โดยนำข้อมูลปริมาณการถ่ายพยาธิตาไก่มาหาค่าความแปรปรวน ( Analysis of Variance : ANOVA ) เปรียนบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยด้วยวิธี Least Significant Differrent ) ผลการศึกษาพบว่าตำลึงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับน้ำจากใบยาสูบ  และยาถ่ายพยาธิลีวามิโซลไฮโดรคลอไรด์  ที่ตำลึงไม่สามารถถ่ายพยาธิตาไก่ได้ซึ่งขัดแย้งกับวสันต์ ( 2544 ) เพราะยางในเถาตำลึงและยอดตำลึงรักษาได้เพียงโรคตาในไก่  แต่น้ำจากใบยาสูบมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญกับยาถ่ายพยาธิลีวามิโซลไฮโดรคลอไรด์ 
ที่ p มากกว่า 0.05 สามารถถ่ายพยาธิตาไก่ได้  ในการใช้ยาสูบไม่ควรเกิน 20 กรัมต่อน้ำ 150 มิลลิลิตร ในเวลาไม่เกิน 5 นาที

                                               น.ส. กิติพร  พุมมา
                                               น.ส.ปรัชญา เสาร์สิงห์
                                               น.ส.สุณิสา  ทองศรี   
                                   น.ศ.สาขาวิชาสัตวรักษ์ ปีการศึกษา 2554

                          นายจรูญ นาคพันธุ์
                          น.สพ.พิเชษฐ ประจงทัศน์
                          น.ส.ระพีพร  แพงไพรี       
          อาจารย์แผนกวิชาสัตวศาสตร์  สาขาวิชาสัตวรักษ์
                                                     


 

วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

ผ.อ.วีรพันธ์ สำเภานนท์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตร กำลังพา นายอวยชัย ชัยยุทโธ ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ดูงานการจัดการเรียนการสอนของสาขาวิชาสัตวรักษ์
.