วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555

ผลของน้ำหมักใบหูกวางต่อการหายของแผลตอนในลูกสุกร

ชื่อเรื่อง ผลของน้ำหมักใบหูกวางต่อการหายของแผลตอนในลูกสุกร
ผู้วิจัย                    1. น.ส.กันยา ยันยง
                             2. น.ส.เพชรไพลิน สุขเสงี่ยม
อาจารย์ที่ปรึกษา  1. น.สพ.พิเชษฐ ประจงทัศน์
                             2. น.ส.ระพีพร แพงไพรี


ประโยชน์จากผลการศึกษา
1. เพื่อศึกษาผลของน้ำหมักจากใบหูกวางแห้งต่อการหายของแผลสุกรเมื่อเทียบกับการใช้ทิงเจอร์ไอโอดีน
2. เป็นแนวทางการนำสิ่งเหลือใช้จากธรรมชาติมาทำให้เกิดประโยชน์ในทางการเกษตร
3. ส่งเสริมการปศุสัตว์ทางเลือกที่หลีกเหลี่ยงการใช้สารเคมี
                                                                              
                                                     บทคัดย่อ
             การศึกษาผลของนำหมักใบหูกวางต่อการหายของแผลตอนใน  ลูกสุกร  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของใบหูกวางในการรักษาแผล  โดยเปรียบเทียบกับทิงเจอร์ไอโอดีน  แบ่งเป็น 2 สิ่งทดลองๆละ 100 ตัว  รวมจำนวนลูกสุกรเพศผู้ 200 ตัว  วิธีการทดลองโดยฉีดพ่นทิงเจอร์ไอโอดีน (สิ่งทดลองที่ 1 ) และน้ำหมักใบหูกวาง ( สิ่งทดลองที่ 2 ) ตัวละ3มิลลิลิตร 1 ครั้ง หลังการตอน  รอบันทึกผลจำนวนวันการหายของแผล  นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ผลแบบเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยแบบคู่ Paired T-test ( Comparison T-test ) วิเคราะห์การกระจายค่า C.V. สัมประสิทธิ์ความแปรผัน  ผลการศึกษาพบว่าทิงเจอร์ไอโอดีนมีค่าเฉลี่ย 6.6 วัน  ซึ่งหายช้ากว่าน้ำหมักใบหูกวางที่ให้ค่าเฉลี่ย 5.75 วัน  ผลการเปรียบเทียบค่าคู่เลี่ย  พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 19.92 ที่ความเชื่อมั่น 95% และมีค่าสัมประสิทธิ์ความแปรผัน 17.6 แสดงให้เห็นว่าน้ำหมักจากใบหูกวางแห้งสามารถทดแทนการใช้ทิงเจอร์ได้ดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น