วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

ผลการใช้ผงสกัดใบหูกวางละลายน้ำรักษาแผลตอนในสุกร


บทคัดย่อ
                ศึกษาการรักษาแผลตอนในลูกสุกรเพศผู้โดยใช้ผงสกัดใบหูกวางละลายน้ำ  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการหายของแผลตอนในสุกร  วางแผนการทดลองแบบ Paired T – test  โดยใช้สุกรเพศผู้อายุ  5 – 7 วัน น้ำหนักเฉลี่ยของลูกสุกร 750 กรัม  จำนวน 60 ตัว  แบ่งออกเป็น 2 สิ่งทดลอง  หน่วยทดลองละ 30 ตัว  เลือกหน่วยทดลองโดยวิธีการสุ่ม   ให้แต่ละกลุ่มเลือกสิ่งทดลองต่างกันคือ  ทิงเจอร์ไอโอดีน  และผงสกัดใบหูกวางละลายน้ำ  ตอนลูกสุกรเพศผู้แบบ 2 แผลโดยมีความกว้างทั้ง 2 แผล  เท่ากัน  ให้สิ่งทดลองแก่หน่วยทดลองในปริมาณที่เท่ากันคือ 1 มิลลิลิตรต่อตัว  เก็บข้อมูลด้วยการบันทึกการหายของแผลตอนทุกวันจนแผลหายสนิท  จากการศึกษาพบว่า  การใช้ผงสกัดใบหูกวางละลายน้ำ  และทิงเจอร์ไอโอดีนให้ค่าเฉลี่ยของจำนวนวันที่หายของบาดแผลตอนเท่ากับ 5.73 และ 5.81 วัน  ทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบรายคู่พบว่าสิ่งทดลองทั้งสอง  ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ Pมากกว่า0.05 และในการทดลองมีค่าสัมประสิทธิ์ของการกระจาย  ( Coefficient  of  Variation C.V.% ) เฉลี่ยเท่ากับ 2.07%  แสดงให้เห็นว่าการใช้ผงสกัดใบหูกวางละลายน้ำสามารถรักษาแผลตอนในสุกรนั้นสามารถรักษาได้เทียบเท่ากับการใช้ทิงเจอร์ไอโอดีน
                จากการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตผงสกัดใบหูกวางละลายน้ำเปรียบเทียบกับราคาทิงเจอร์ไอโอดีนพบว่าต้นทุนการผลิตของผงสกัดใบหูกวางละลายน้ำมีราคาต่ำกว่าทิงเจอร์ไอโอดีนถึงร้อยละ 50 ( ทิงเจอร์ไอโอดีนราคา 0.15 บาทต่อมิลลิลิตร  ส่วนผงสกัดใบหูกวางละลายน้ำราคา 0.08 บาทต่อมิลลิลิตร ) แสดงให้เห็นว่าการใช้ผงสกัดใบหูกวางละลายน้ำเพื่อรักษาแผลตอนในสุกรสามารถลดต้นทุนเวชภัณฑ์ได้ร้อยละ 50 อีกทั้งการใช้ใบหูกวางในรูปผงสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานกว่าน้ำหมักใบหูกวางที่นำมาใช้รักษาแผลตอนสุกร( กันยา และเพชรไพลิน, 2554 )  ซึ่งใช้เวลาในการหมัก 2 สัปดาห์  และควรรีบใช้ให้หมดไม่เช่นนั้นอาจเสื่อมคุณภาพหรือเน่าเสียได้
                                นายสมรัก  ใจตรง  และนายประทุมทอง  รัตนพันธ์  นักศึกษาสาขาสัตวรักษ์
น.สพ.พิเชษฐ  ประจงทัศน์ /น.สพ.สุวิทย์  จันละคร และ น.ส.ระพีพร  แพงไพรี  อาจารย์ที่ปรึกษา
โครงการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น